รับสมัครแคดดี้
สำหรับท่านใดที่ต้องการสมัครงานสนามกอล์ฟ เลกาซี กอล์ฟ คลับ ทางทีมงานเปิดรับสมัครแคดดี้จำนวนมาก ท่านใดที่สนใจงานหรือต้องการสอบถามการทำงาน part time เชิญอ่านรายละเอียดงานด้านในค่ะ

รับสมัครแคดดี้ ที่เลกาซีกอล์ฟคลับ รายได้ดี!

สมัครงานสนามกอล์ฟ สนาม เลกาซี กอล์ฟ คลับ


รับสมัครงานแคดดี้ รายได้เฉลี่ยต่อครั้ง ที่ทำงาน คูปอง 300 บาท
ทริป เฉลี่ย 300 – 500 บาท หรือ มากกว่านั้นก็มีมาก รายได้เฉลี่ย 600 ถึง 800 บาทต่อครั้ง หรือมากกว่านั้น

คุณสมบัติการสม้ครงาน
  • ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา
  • เพศหญิง อายุตั่งแต่ 15 – 30 ปี
  • บุคคลิกภาพดี
  • มีความอดทน ขยันหมั่นเพียร
  • มีความรับผิดชอบ
ติดต่อสอบถามโทร 087-025-6301 (คุณ พยน)

แคดดี้(caddy/caddie) อาชีพที่ทำเงินได้…..
การทำงานให้ได้ผลดีและประสบผลสำเร็จนั้น จะต้องรู้ความเป็นมาของอาชีพและเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ มีการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน เพื่อรักษามาตรฐานของอาชีพ และพัฒนาให้มีรายได้มากขึ้นเพื่อสามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้
เมื่อประมาณปี พ.ศ.2530 กีฬากอล์ฟในประเทศไทยเราเริ่มมีคนนิยมมากขึ้น ด้วยตามกระแสนิยม หรือเหตุผลกลใดสุดแล้วแต่ ในช่วงนั้นข้าพเจ้าได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสกับอาชีพนี้ ในช่วงอายุเรียกว่าเกือบจะวัยรุ่น ด้วยพื้นเพเป็นคนจังหวัดระยอง ในช่วงนั้นเขาเรียกว่า กอล์ฟกำลังบูม ก็มีสนามกอล์ฟเข้ามาก่อสร้างในพื้นที่แถบภูมิลำเนาของข้าพเจ้า เวลาจันทร์-ศุกร์ เรียนในโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ เสาร์-อาทิตย์ ว่างไม่รู้จะทำอะไร แม่กับเตี่ยก็ทำไร่มันสำปะหลัง และรับจ้างทั่วไป แม่ก็เลยให้ไปทำงานในสนามกอล์ฟ เขาใช้ชื่อว่า ระยอง กรีนวัลเล่ย์
แรก ๆ ที่เข้าไปสนามกอล์ฟกำลังสร้าง ข้าพเจ้าเริ่มงานตั้งแต่ถอนหญ้า งานถอนหญ้านี่ต้องทำกันทั้งวัน ถอนด้วย 2 มือเนี่ยแหละ ใช้เหล็กยาว ๆ แซะหญ้าออกมา เป็นหญ้าที่เขาไม่ต้องการ เอาออกจากหญ้าที่เขาปลูกใช้เป็นสนาม พอสนามเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ก็เริ่มที่จะฝึกการเป็นแคดดี้ อาวุธประจำตัวต้องมีทุกคนคือถุงทราย แม่เอาเศษผ้ามาเย็บให้ ตักทรายให้เต็ม มีทัพทีอันนึงไว้ตักทรายกลบหญ้าเวลาที่ผู้เล่นกีฬากอล์ฟ (เรียกสั้น ๆ ว่า นาย) ตีกอล์ฟแล้วหญ้าหลุดออกมา การฝึกในสมัยนั้นไม่มีอะไรจด ทุกสิ่งจะต้องจำด้วยสมอง และหัดทำด้วยตัวเอง หน้าที่หลักคือ คอยเเบก กระเป๋าอุปกรณ์ของนาย ดีหน่อยที่สนามนี้ใช้รถลากกระเป๋ากอล์ฟ คอยให้คำเเนะนำ เเคดดี้ที่ดีจะทราบว่า สนามที่เล่นอยู่นั้น มีลักษณะอย่างไร ตั้งแต่
แท่นทีออฟ การตีครั้งแรกในแต่ละหลุม เริ่มจากเขตที่เรียกว่า “แท่นตั้งที” (teeing ground) ผู้เล่นสามารถใช้แท่งหมุดขนาดเล็ก ซึ่งเรียกว่า “ทีตั้งลูก” (tee) ทำจากไม้หรือพลาสติก ช่วยให้การตี”ทีช็อต”ง่ายขึ้น (ข้าพเจ้าชอบเก็บไว้เป็นที่ระลึก บางอันทีได้มีลักษณะแปลก ๆ)
แฟร์เวย์หรือรัฟ หลังจากตีลูกออกจากแท่นตั้งที ผู้เล่นจะตีลูกกอล์ฟ (โดยมากไปยังกรีน) จากจุดที่ลูกมาหยุดอยู่ ซึ่งอาจจะเป็น “แฟร์เวย์” (fairway) หรือว่า “รัฟ” (rough) บนแฟร์เวย์นั้น หญ้าจะถูกตัดสั้นและเรียบ ทำให้การตีลูกนั้นง่ายกว่าการตีจากรัฟ ซึ่งมักจะไว้หญ้ายาวกว่า
อุปสรรค ในสนามกอล์ฟ หลุมหลายหลุมอาจมีเขต “อุปสรรค” (hazard) ซึ่งแบ่งออกสองชนิดคือ “เขตอุปสรรคน้ำ” (water hazard) และ “บังเกอร์” (bunker) (บางครั้งเรียกว่า “หลุมทราย” หรือ “อุปสรรคทราย”) ในเขตอุปสรรค จะมีกฎบังคับการเพิ่มเติม ซึ่งทำให้การเล่นลำบากมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ในเขตอุปสรรค ผู้เล่นไม่สามารถใช้ไม้กอล์ฟสัมผัสพื้นก่อนการเล่นลูกได้ ลูกที่อยู่ในเขตอุปสรรคสามารถเล่นจากจุดที่ลูกหยุดอยู่ได้โดยไม่ถูกปรับแต้ม หากไม่สามารถเล่นจากตำแหน่งนั้นได้ (โดยเฉพาะในอุปสรรคน้ำ) ผู้เล่นอาจจะเลือกเล่นจากจุดอื่น โดยทั่วไปจะปรับโทษหนึ่งสโตรค (แต้ม) ซึ่งตำแหน่งการเล่นนอกเขตนั้น ถูกบังคับอย่างเข้มงวดโดยกฎกอล์ฟ บังเกอร์เป็นเขตอุปสรรคเพราะการเล่นลูกนั้นทำได้ยากกว่าการตีจากหญ้า
กรีน เมื่อลูกกอล์ฟอยู่บน “กรีน” (putting green) แล้ว ผู้เล่นจะพัตลูกไปยังหลุมจนกว่าจะลง”หลุม” (hole หรือ cup) การ “พัต” (putt) คือการตีลูกครั้งหนึ่ง มักจะทำบนกรีน (แต่ไม่เสมอไป) โดยใช้ไม้กอล์ฟซึ่งมีหน้าแบนเรียบ ทำให้ลูกกลิ้งไปบนพื้นโดยไม่ลอยจะพื้นดิน หญ้าบนกรีนนั้นจะตัดสั้นมาก ทำให้ลูกกลิ้งไปได้อย่างง่ายดาย ทิศทางของใบหญ้าและความลาดเอียงของพื้นจะส่งผลต่อทิศทางการกลิ้งของลูก หลุมกอล์ฟจะอยู่บนกรีนเสมอ ตำแหน่งของหลุมบนกรีนอาจเปลี่ยนไปได้ในแต่ละวัน โดยทั่วไปมักจะมีธงปักในหลุมกอล์ฟเพื่อให้เห็นหลุมได้จากระยะไกล แม้ว่าอาจจะไม่ใช่จากแท่นตั้งทีก็ตาม
เขตโอบี คือเขตที่อยู่นอกเขตสนามที่กำหนดไว้ ซึ่งผู้เล่นไม่สามารถตีลูกได้ หากลูกของผู้เล่นตกไปยังเขตโอบี ผู้เล่นจะต้องเล่นลูกจากจุดเดิมที่ตีมา และปรับแต้มเพิ่มหนึ่งสโตรค
เขตอื่น ๆ บางส่วนในเขตสนาม อาจจะมี “เขตพื้นที่ซ่อม” (ground under repair หรือ G.U.R.) ซึ่งหากลูกกอล์ฟของผู้เล่นเข้าไปตกในเขตนี้แล้ว ผู้เล่นสามารถหยิบออกมาเล่นนอกเขตได้โดยไม่ถูกปรับแต้ม นอกจากนี้ ยังอาจมี “สิ่งกีดขวาง” (obstruction) ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่นหมุดบอกระยะทาง รั้ว เป็นต้น และมีกฎข้อบังคับเฉพาะซึ่งกำหนดวิธีเล่นหากลูกของผู้เล่นได้รับผลกระทบจาก สิ่งกีดขวาง
พาร์ แต่ละหลุมในสนามกอล์ฟจะมีการกำหนด “พาร์” (par) ซึ่งเป็นจำนวนครั้งการตีที่ผู้เล่นควรจะตีจบหลุม เช่น ในหลุมพาร์สี่ ผู้เล่นควรจะตีครั้งแรกจากแท่นตั้งที ครั้งที่สองไปยังกรีน และพัตอีกสองครั้ง หลุมกอล์ฟโดยทั่วไปมักจะมีพาร์สาม สี่ และห้า
นอกจากนี้หน้าที่ของแคดดี้ต้องดูระยะของหลุม การปักพิน(ใช้บนกรีน) การเลือกใช้ไม้กอล์ฟ มีความรู้ในกฎ กติกา มารยาททั่วไปและกฎเฉพาะของสนาม ต้องพัฒนาความสามารถตลอดเวลา และ แคดดี้ควรมีทักษะในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษอย่างง่ายได้พอสมควร เพราะส่วนใหญ่นายที่มาตีกอล์ฟ ถ้าไม่ใช่คนไทยที่เป็นนักธุรกิจก็จะเป็นชาวต่างชาติที่ชอบในกีฬาชนิดนี้ เมื่อหัดจนสามารถที่จะปฏิบัติงานได้แล้ว จะได้หมายเลขติดเสื้อ การที่มีหมายเลขเป็นของตนเอง หมายถึง การจัดลำดับคิวการออกปฏิบัติงานของแคดดี้ การปฏิบัติงานของแคดดี้ในแต่ละครั้งจะเรียกว่าการออกรอบ ในแต่ละรอบนายจะออกเป็นก๊วน ในแต่ละก๊วนจะมีนายอย่างน้อย 4 คน โดยแคดดี้จะได้รับรายได้ประจำจากทางสนาม ซึ่งเป็นค่าบริการที่นายเป็นผู้จ่ายให้ และอีกส่วนหนึ่งเป็นรายได้จากการได้ทิป (Tip) อันนี้แหละที่แคดดี้ส่วนใหญ่หวังไว้จนกลายเป็นรายได้หลัก คือถ้าการบริการดี นายพึงพอใจก็จะได้ทิปมาก ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์ การพัฒนาการบริการ ให้ลูกค้า(นาย) ได้รับความพึงพอใจสูงสุด
แคดดี้เป็นอาชีพที่ข้าพเจ้าทำในสมัยเมื่อครั้งยังเรียนหนังสือ เป็นการหารายได้พิเศษในระหว่างเรียน เมื่อต้องเข้ามาเรียนต่อในระดับสูงขึ้น จึงไม่ได้กลับไปทำอีก ในการทำงานอาชีพสุจริตที่สามารถทำได้ เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองจึงทำมาโดยตลอด แล้วเด็กสมัยนี้ภาระที่ได้คือการเรียนอย่างเดียว ทำอย่างไรจึงจะให้เค้าคิดว่าการได้มามันไม่ได้มาโดยง่าย การปลูกฝังให้เด็กรู้จักการทำงานเพื่อช่วยเหลือตัวเองจึงเป็นภาระของครูและ ผู้ปกครองที่จะต้องช่วยกันให้เด็กไทยรู้จักการทำงานเพื่อประโยชน์ต่อตนเอง และส่วนรวมด้วย
ในปัจจุบัน สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ภาคตะวันออก ได้จัดทำเป็นหลักสูตร พัฒนาอาชีพแคดดี้ ขึ้นมา เพื่อเป็นการพัฒนาอาชีพแคดดี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น